หน่วยที่
2
หลักการและทฤษฎีแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
3. ทฤษฎีระบบ
4. ทฤษฎีการเผยแพร่
5 การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ บลูม
6 ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก
2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้ (Cognitive) ได้แก่
1.1กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe
Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี
เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
(Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response
Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning
Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov)
กล่าวไว้ว่า
ปฏิกริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ปาฟลอบ (Pavlov)
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism
Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ทอนไดค์ (Thorndike)
ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ
อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1.
กฎแห่งการผล (Low of Effect)
2.
กฎแห่งการฝึกหัด (Lowe of Exercise)
3.
กฎแห่งความพร้อม (Low of Readiness)
ทอนไดค์
(Thorndike)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R
Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า
ปฏิกริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ
ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
สกินเนอร์ (Skinner)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R
Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ
สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า
ปฏิกริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้
ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step
by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
2 กลุ่มความรู้ (Cognitive)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม
ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน
โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Perceptual experience) ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า
Cognitive Field Theory หรือ ทฤษฎีสนามนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้
เช่น โคเลอร์(kohler) เลวิน (Lawin) วิทคิน
(Witkin)แนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน
ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ
การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ การนำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้
(Cognition) มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัส
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า โสตทัศน์ศึกษา (Audio
Visual)
ทฤษฎีการเรียนรู้
การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจาการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส
(Sensory
motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง
5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน
13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3% การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้
ลักษณะของสิ่งเร้า แนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน
ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ
การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Differences Theory) ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง
(Stimulus-Response) หรือทฤษฎี
เอส-อาร์ (S-R theory) ของกาเย่(Gagne)และนำมาประยุกต์ใช้ (Defleur, 1966) อธิบายว่า
บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ
เป็นต้น
ความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการเลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน
ได้แก่
1) มนุษย์เรามีความแตกต่างกันมากในองค์ประกอบทางจิตวิทยาส่วนบุคคล
2) ความแตกต่างนี้บางส่วนมาจากลักษณะแตกต่างทางชีวภาค หรือทาง
ร่างกายของแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากความแตกต่างที่เกิดจากการเรียนรู้
3) มนุษย์ซึ่งถูกชุบเลี้ยงภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ จะเปิดรับความคิดเห็น
แตกต่างกันไป
4) การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดทัศนคติ ค่านิยม
และความเชื่อที่รวมเป็นลักษณะทางจิตวิทยาส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไป
ทฤษฎีพัฒนาการของเปียเจท์
ได้อธิบายว่าการพัฒนาสติปัญญาและความคิดของผู้เรียนนั้น
เกิดจากการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนควรจะต้องจัดสภาพแวดล้อม ทางการเรียนการสอน
ให้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนด้วย
ทฤษฎีพัฒนาการของบรูนเนอร์
ได้อธิบายว่าความพร้อมของเด็กสามารถจะปรับได้
ซึ่งสามารถจะเสนอเนื้อหาใดๆ แก่เด็กในอายุเท่าใดก็ได้แต่จะต้องรู้จักการจัดเนื้อหา
และวิธีการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของงเด็กเหล่านั้น ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจเด็ก
และรู้จักกระตุ้นโดยการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
ทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน
ได้อธิบายว่า การพัฒนาการทางบุคลิกภาพย่อมขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์กับสภาพสังคมที่มีอิทธิพลมาเป็นลำดับขั้นของการพัฒนาและจะสืบเนื่องต่อๆไป
เด็กที่มีสภาพสังคมมาดีก็จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีด้วย
ดังนั้นผู้สอนควรจะสร้างสัมพันธภาพกับผู้เรียนให้ความสนใจเพื่อแก้ปัญหาค่านิยมบางประการ
ทฤษฎีพัฒนาการของกีเซล
ได้อธิบายว่า
พฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการซึ่งจะเป็นไปตามธรรมชาติและเมื่อถึงวัยก็สามารถกระทำพฤติกรรมต่างๆได้เอง
ไม่จะเป็นต้องฝึกหรือเร่งเมื่อยังไม่พร้อม
ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถ ความสนใจ
และความต้องการของผู้เรียน
ทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสาร คือ
การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ บทบาทหน้าที่
ผล อิทธิพล การใช้
การควบคุม แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ
แนวโน้มอนาคต และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร
แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์
รูปแบบจำลองเชิงวงกลมของออสกูดและชแรมม์
ทฤษฎีระบบหรือการคิดอย่างกระบวนระบบ ( Systemic Thinking)
ระบบ
หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นมาเป็นหนึ่งเดียว
มีความสัมพันธ์กันในทางหนึ่งทางใดรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน
กระทำการเพื่อความสำเร็จตามที่ต้องการ
ทฤษฎีระบบ (Systems
theory) จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20
ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา
โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ
ประเภทของระบบ
โดยทั่วไประบบ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท
กล่าวคือ ระบบปิด และระบบเปิดในองค์การแบบปิด (Closed System) จะไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ส่วนในองค์การแบบเปิด (Open
System) จะได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสิ่งแวดล้อม
หากพิจารณาโดยรายละเอียด พบว่า
ระบบปิด (Closed System) คือ ระบบที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง ไม่พยายามผูกพันกับระบบอื่นใด และแยกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม
ระบบเปิด (Open System) คือ ระบบที่ต้องอาศัยการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์การหรือหน่วยงานอื่น ๆ ในลักษณะเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีความสมดุล รวมทั้งสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปก็มีผลหรืออิทธิพลต่อการทำงานขององค์การเช่นกัน (ประชุม รอดประเสริฐ (2543, หน้า 67) วิโรจน์ สารรัตนะ (2545, หน้า 24-25) French and Bell (1990, pp. 53-54) Robbins et al. (2006, p. 55) Kinichi and Kreitner (2003, p. 307)
องค์ประกอบของระบบ
จากความหมายของระบบที่ได้ให้คำนิยามนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ทุกระบบ ต้องมีองค์ประกอบหรือสิ่งต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ ตามวัตถุประสงค์ที่องค์การได้ตั้งไว้ ดังนั้นภายในระบบจึงมีองค์ประกอบดังนี้
สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ และองค์ประกอบแรกที่จะนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ โดยรวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อันเป็นที่ต้องการของระบบนั้นด้วย ในระบบการศึกษาตัวป้อนเข้าไป ได้แก่ นักเรียน สภาพแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียน สมุด ดินสอ และอื่น ๆ เป็นต้น
กระบวนการ (Process) เป็นองค์ประกอบที่สองของระบบ หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ และในระบบการศึกษาได้แก่ วิธีการสอนต่าง ๆ เป็นต้น
ผลงาน (Output) หรือ ผลิตผล (Product) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสุดท้ายของระบบ หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในลักษณะต่าง ๆ หรือนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถที่จะดำรงชีวิตในอนาคตได้ตามอตถภาพ เป็นต้น
ทั้ง 3 องค์ประกอบ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขาดสิ่งใดไม่ได้ นอกจากนั้นทั้ง 3 องค์ประกอบยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การด้วย ในขณะที่องค์การต้องดำเนินกิจกรรมนั้น สิ่งที่ช่วยให้องค์การสามารถตรวจสอบว่ากิจกรรมต่าง ๆ นั้นบรรลุวัตถุประสงค์ หรือไม่ มีส่วนใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง จึงต้องอาศัย ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถปรับปรุง ตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process)
ระบบปิด (Closed System) คือ ระบบที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง ไม่พยายามผูกพันกับระบบอื่นใด และแยกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม
ระบบเปิด (Open System) คือ ระบบที่ต้องอาศัยการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์การหรือหน่วยงานอื่น ๆ ในลักษณะเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมีความสมดุล รวมทั้งสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปก็มีผลหรืออิทธิพลต่อการทำงานขององค์การเช่นกัน (ประชุม รอดประเสริฐ (2543, หน้า 67) วิโรจน์ สารรัตนะ (2545, หน้า 24-25) French and Bell (1990, pp. 53-54) Robbins et al. (2006, p. 55) Kinichi and Kreitner (2003, p. 307)
องค์ประกอบของระบบ
จากความหมายของระบบที่ได้ให้คำนิยามนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ทุกระบบ ต้องมีองค์ประกอบหรือสิ่งต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ ตามวัตถุประสงค์ที่องค์การได้ตั้งไว้ ดังนั้นภายในระบบจึงมีองค์ประกอบดังนี้
สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ และองค์ประกอบแรกที่จะนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ โดยรวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อันเป็นที่ต้องการของระบบนั้นด้วย ในระบบการศึกษาตัวป้อนเข้าไป ได้แก่ นักเรียน สภาพแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียน สมุด ดินสอ และอื่น ๆ เป็นต้น
กระบวนการ (Process) เป็นองค์ประกอบที่สองของระบบ หมายถึง วิธีการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ และในระบบการศึกษาได้แก่ วิธีการสอนต่าง ๆ เป็นต้น
ผลงาน (Output) หรือ ผลิตผล (Product) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสุดท้ายของระบบ หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในลักษณะต่าง ๆ หรือนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถที่จะดำรงชีวิตในอนาคตได้ตามอตถภาพ เป็นต้น
ทั้ง 3 องค์ประกอบ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขาดสิ่งใดไม่ได้ นอกจากนั้นทั้ง 3 องค์ประกอบยังมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การด้วย ในขณะที่องค์การต้องดำเนินกิจกรรมนั้น สิ่งที่ช่วยให้องค์การสามารถตรวจสอบว่ากิจกรรมต่าง ๆ นั้นบรรลุวัตถุประสงค์ หรือไม่ มีส่วนใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง จึงต้องอาศัย ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถปรับปรุง ตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process)
ทฤษฎีการเผยแพร่
การเผยแพร่(Diffusion)หมายถึง
กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย
ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น
เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่
แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ
ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษฎีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
การศึกษาถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ
1.ต้องการทราบว่าผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นที่ยอมรับหรือไม่
เนื่องจากการปฏิบัติจริงนั้นไม่เหมือนกัน
2.นักเทคโนโลยีการศึกษาสามารถจัดเตรียมในการเผยแพร่งานเทคโนโลยีการศึกษาให้กับกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.นำไปสู่การเผยแพร่นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ
สร้างรูปแบบการเผยแพร่และรูปแบบการยอมรับนวัตกรรมขึ้น
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน
ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน
ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน
ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย
ไม่เกิดความดับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม
การแพร่กระจายนวัตกรรม Diffusion of Innovations Theory (DOI) ของ Everett Rogerแนวความคิดทฤษฏีของ Roger การยอมรับ (Adoption) สิ่งใดของสังคม จะมีกระบวนการ (Process) คล้ายๆ กัน
โดยเริ่มต้นจากมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น มีคนกลุ่มหนึ่งยอมรับคิดว่าดีแล้ว
จะเกิดการแพร่กระจาย (Diffusion) ไปตามช่องทางการสื่อสาร (Channels)
ต่างๆ ของคนกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งในสังคม
อยู่ที่สิ่งใหม่นั้นมีความดึงดูดใจสูงก็จะทำให้การยอมรับสิ่งนั้นในสังคม
ใช้ระยะเวลาในการยอมรับสั้นขึ้น
การแพร่กระจายความนิยมเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือ Promotion ใดให้เกิดความนิยม
แต่ล้วนแล้วเกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปตามช่องทางสื่อสารต่างๆ
สังคมโดยธรรมชาติ ธรรมชาติของโทรคมนาคมเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและธุรกิจสมัยใหม่ก็เช่นกัน
ส่วนประกอบของการแพร่กระจายนวัตกรรมDiffusion
of Innovation
1.นวัตกรรม (Innovation)
2.ช่องทางการสื่อสาร (Communication
Channels)
3.ช่วงระยะเวลาหนึ่ง (Time)
4.ระบบสังคม(Social System)
Communication Channels
Innovation → Social System
Time
กระบวนการซึ่งนวัตกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ของระบบสังคม
โดยใช้เวลาในการเข้าสู่สมาชิกในสังคม ทั้งสี่ส่วนประกอบหลักในสังคมนั่น คือ
นวัตกรรม ช่องทางในการสื่อสาร เวลา และ ระบบสังคม
แนวความคิดทฤษฏีของ Roger ได้แบ่งกลุ่มคนในสังคมที่จะยอมรับการแพร่กระจายทางเทคโนโลยีไว้ดังนี้
++++Consumer++++%++++Behavior+++++Characteristics+++
ประเภทการยอมรับนวัตกรรม
Innovators 2.5% ต้องเป็นคนแรก ผู้ที่ชอบเสี่ยง
เป็นนักประดิษฐ์หรือ
มีความรอบรู้เทคโนโลยี
Early adopters 13.5% ชอบลองของใหม่ ชอบเป็นผู้นำ ได้รับความนิยมทาง
สังคม
มีการศึกษา ชอบความใหม่
Early majority 34% อยากมีบ้าง เป็นคนรอบคอบ
ชอบแบบสบายๆไม่เป็น
ทางการ
ยอมรับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
Late majority 34% จำเป็นต้องมีเป็นคนช่างสงสัย หัวโบราณ
ฐานะไม่ดี
Laggards 16%
มีก็ดีเหมือนกันรับฟังข้อมูลจากคนรอบข้างเช่น
เพื่อน
หรือญาติ และกลัวการเป็นหนี้
ขั้นตอนการยอมรับนวัตกรรม (Adoption
Process)
1. ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ (awareness)
2. ขั้นสนใจ (interest)
3. ขั้นประเมินผล (evaluation)
4. ขั้นทดลอง (trial)
5. ขั้นยอมรับปฏิบัติ (adoption)
กระบวนการตัดสินใจนวัตกรรม (Innovation
decision process)
1. ขั้นความรู้ (knowledge)
2. ขั้นชักชวน (persuasion)
3. ขั้นตัดสินใจ (decision)
4. การตัดสินใจใช้ (implementation)
5. ขั้นยืนยัน (confirmation)
การค้นหาความคิดใหม่ : Idea
Generation
6.แหล่งที่มาของความคิดที่เป็นนวัตกรรม
1.ความรู้ใหม่
2.การใช้ประโยชน์จากความคิดของลูกค้า
3.การเรียนรู้จากกลุ่มผู้ใช้ที่มีหัวก้าวหน้า
4.การออกแบบที่เข้าถึงใจคน
5.ฝ่ายวิจัยและพัฒนา
6.นวัตกรรมจากภายนอกองค์กร
การรับรู้ถึงโอกาส : Opportunity
Recognition
“สิ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องฉลาดพอที่จะรับรู้ว่า
สิ่งนั้นจะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เมื่อเราเห็นมันอยู่ตรงหน้า” (Norman
Augustine)
หลักการรับรู้โอกาสด้วย “แผนผังอรรถประโยชน์”
นวัตกรรมสร้างอรรถประโยชน์มากที่สุดในด้านใดได้บ้าง
อรรถประโยชน์นั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าเทคโนโลยีของผู้อื่นเพียงใด
อรรถประโยชน์ใดมีความสำคัญมากที่สุด
สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นอรรถประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
การประเมินความคิด : Idea
Evaluation
ความเหมาะสมของนวัตกรรมกับกลยุทธ์ขององค์กร
ความสามารถด้านเทคนิคขององค์กรในการสร้างนวัตกรรม
ความสามารถทางด้านธุรกิจที่ส่งผลให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ
การพัฒนานวัตกรรม : Devment
elopment
- ตัวกรองความคิด
- ระบบแบบ “ขั้นตอนและประตู (stage-gate
system)
- การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
- การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)
การนำนวัตกรรมเข้าสู่ตลาด : Commerciali-zation
- การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (breakeven analysis)
- การวิเคราะห์กระแสเงินสดคิดลด(discounted cash flow analysis)
นวัตกรรมการแพร่กระจายถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
สร้างความได้เปรียบในด้านธุรกิจ
ในการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์การสื่อสารทุกช่องทาง เช่นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ
โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต วารสารและหนังสือพิมพ์
ดังนั้นทุกองค์กรจึงให้ความสำคัญในการขับเคลื่อน
เสาะแสวงหาโอกาสเพื่อสร้างนวัตกรรมและสามารถใช้นวัตกรรมสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจของตน
องค์กรควรมีกระบวนการจัดการ 4 ขั้นตอนในการพัฒนากระบวนการทางนวัตกรรม
•ค้นหาและตรวจสอบ
สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์กร
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนานวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องมีการค้นคว้าวิจัย
ศึกษาพฤติกรรมคู่แข่ง ศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อนวัตกรรม
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาช่องทางใหม่ให้แก่องค์กร
•การคัดเลือกเชิงกลยุทธ์
ที่เลือกจากชุดของนวัตกรรมที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จที่ได้จากการตรวจสอบและค้นหาในขั้นตอนแรก
ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรพร้อมที่จะทุ่มเททรัพยากรในการพัฒนาอย่างเต็มที่
เป็นความท้าทายอย่างมากขององค์กรในการเลือกสิ่งที่องค์กรมีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างความสามารถทางการแข่งขัน
•แหล่งที่มาของทางเลือก
เป็นการเลือกใช้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่ได้จากทำวิจัยและพัฒนาหรือการได้รับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี
ให้เกิดประโยชน์
•การนำเอานวัตกรรมนั้นไปปฏิบัติจริง
เป็นการเปลี่ยนจากแนวความคิดผ่านกระบวนการต่างๆ จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์
หรือบริการสู่ตลาด หรือเป็นกระบวนการใหม่ๆ ภายในองค์กร
•การเรียนรู้จากการที่ลงมือปฏิบัติไปแล้ว
ว่าสำเร็จหรือล้มเหลว เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น
เพื่อหาทางแก้ไขและบริหารจัดการว่าต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้กระบวนการดีขึ้น
ยังมีการเปลี่ยนแปลงมากมายที่องค์กรจะต้องเรียนรู้และหาทางว่าควรจะปรับองค์กรไปในทิศทางใด
ซึ่งก็ขึ้นยู่กับว่าองค์กรนั้นมีพื้นฐานการดำเนินธุรกิจและลักษณะองค์กรแบบใด
และจะพบกับความไม่แน่นอนประเภทใดบ้างที่ต้องรับมือให้ได้ เช่น
โครงสร้างและกระบวนการทำงานในองค์กรขนาดใหญ่จะยุ่งยากและซับซ้อนมีขั้นตอนมากกว่าบริษัทเล็กๆ
ที่จะมีความคล่องตัวมากกว่า
หรือบริษัทเกี่ยวกับธุรกิจเวชภัณฑ์จะให้ความสำคัญกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย
และพัฒนา จะเห็นได้จากการที่มีสัดส่วนเงินลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเป็นจำนวนมาก
องค์กรที่ไม่หวังผลกำไรอาจจะเน้นไปที่การลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพสินค้า
ขณะที่ธุรกิจทางด้านเอกชนจะให้ความสำคัญกับส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม
Bloom’s Taxonomy กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม
ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย
และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด
เช่น ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์
การสังเคราะห์ การประเมิน นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ
Anderson and Krathwohl (2001) เป็น การจำ(Remembering)
การเข้าใจ(Understanding) การประยุกต์ใช้(Applying)
การวิเคราะห์ (Analysing) การประเมินผล (Evaluating)
และการสร้างสรรค์ (Creating) ด้านจิตพิสัย
จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม,
การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย
จำแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมๆกัน,
ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด
ทฤษฎีการเรียนรู้คืออะไร
การเรียนรู้ (Learning) คือ
กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ(Klein
1991:2)
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร
โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง
มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติที่เรียกว่า ปฏิกิริยาสะท้อน (Kimble
and Garmezy) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
อันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
(Hilgard and Bower) การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง
อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา (Cronbach) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน
เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่าง ๆ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่แต่ละบุคคลได้ตั้งไว้
(Pressey, Robinson and Horrock, 1959)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม เป็นอย่างไร
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge)
ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
ความเข้าใจ (Comprehend)
การประยุกต์ (Application)
การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
การสังเคราะห์ ( Synthesis)
สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม
เน้นโครงสร้างใหม่
การประเมินค่า ( Evaluation)
วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด
ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
ทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ (Bloom
et al, 1956) มีลักษณะอย่างไร
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา
ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ
อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
1.ความรู้ความจำ ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ
จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์
ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้ สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจเป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ
และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น
ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้
เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4. การวิเคราะห์
ผู้เรียนสามารถคิด หรือ
แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้
และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5. การสังเคราะห์
ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ
เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ
เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ
อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ
หรือ แนวคิดใหม่
6. การประเมินค่า
เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ
สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม
ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
2.จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา
จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัย จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้ ...
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร
แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง
...เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น
ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม ...
การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ
หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ
แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ ... การสร้างแนวคิด
จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์
ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
5. บุคลิกภาพ ...
การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้
จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม
แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ
จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด
อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น
ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ
ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย
พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้ ...
เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ
เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2.กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ...
เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ
เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3.การหาความถูกต้อง
พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง
จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่องจนสามารถปฏิบัติ
ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนอย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม ( Bloom
1976 ) ( อ้างจาก รศ.ดร.ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ , 2535 : 115
– 117 ) บลูมได้เสนอทฤษฎีการเรียนรู้ในโรงเรียนไว้ดังนี้
-
พื้นฐานของผู้เรียนเป็นหัวใจในการเรียน
ผู้เรียนแต่ละคนจะเข้าชั้นเรียนด้วยพื้นฐานที่จะช่วยให้เขา ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ต่างกัน
ถ้าเขามีพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะไม่แตกต่างกัน
-
คุณลักษณะของแต่ละคน เช่น ความรู้ที่จำเป็นก่อนเรียน
แรงจูงใจในการเรียน และคุณภาพของการสอน เป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้
เพื่อให้แต่ละคนและทั้งกลุ่มมีระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้น
เพราะฉะนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า
การเรียนรู้หมายถึง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร
และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน
มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือพิษยาต่าง ๆ
หรืออุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ
พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร
จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ
เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
เมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ (Bloom, 1959)
1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความเข้าใจ
และความคิด (Cognitive Domain) หมายถึง
การเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระใหม่
ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้มากขึ้น
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง
2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ
ค่านิยม (Affective Domain) หมายถึง
เมื่อบุคคลได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางด้านจิตใจ
ความเชื่อ ความสนใจ
3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความชำนาญ (Psychomotor
Domain) หมายถึง การที่บุคคลได้เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านความคิด
ความเข้าใจ และเกิดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ความสมใจด้วยแล้ว
ได้นำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติ จึงทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น เช่น การใช้มือ
เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น