การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน
พัฒนาการของการสื่อสาร
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลกการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลก
นับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่นั้น อาจแบ่งออกเป็น 3ยุค ที่สำคัญตามลำดับ คือ เริ่มแรกเป็นยุคของเกษตรกรรม
ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นยุคอุตสาหกรรม และถึงปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคของการสื่อสาระ
การสื่อสารในยุคเกษตรกรรม
ในยุคนี้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าหรือกษัตริย์ผู้ปกครอง
พัฒนาการทางด้านความรู้ ความคิด การเมืองการปกครอง ทำให้จำเป็นต้องคิดค้นภาษา
การสื่อสารในยุคอุตสาหกรรม
เนื่องจากประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้น มีการติดต่อค้าขายระหว่างกลุ่มชนยุคนี้จึงส่งเสริมให้การสื่อสารทั้งระหว่างบุคคลและการสื่อสารแบบมวลชนขยายตัวอย่างกว้างขวาง
การสื่อสารในยุคปัจจุบัน
ปัจจุบันได้ชื่อว่า เป็นยุคของการสื่อสารอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทุกๆ ด้าน
ความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้
โดยปราศจากการสื่อสารดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลและสังคมหลายด้าน
1. ด้านชีวิตประจำวัน คือ การสื่อสารกับตัวเองและคนอื่นที่อยู่ใกล้ตัว
2. ด้านสังคม คือ การสื่อสารกลุ่มในสังคมทั้งในระดับชุมชน
3. ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม คือ การโฆษณาสินค้า
การประชาสัมพันธ์
4. ด้านการเมืองการปกครอง คือ การประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล
5. ด้านการเมืองระหว่างประเทศ
คือ การติดต่อสร้างความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งสาร (Sender)
หรือผู้สื่อสาร(Communicator) หรือแหล่งสาร (Source)
เป็นแหล่ง หรือต้นทางหรือผู้ที่นำเรื่องราวข่าวสาร ความรู้
ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ
2.เนื้อหา (Message)
ได้แก่ เรื่องราวที่ส่งออกมาจากผู้ส่งสาร เช่น ข่าวสารความรู้
3.สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Medium
or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดข้อมูลและเหตุการณ์ต่าง ๆ
จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับ เช่น วิทยุกระจายเสียง
4.ผู้รับสารหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver
or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือจากการที่ผู้ส่ง สารส่งมา
5.ปฏิกิริยาสนองกลับ (Feedback)
เมื่อผู้ส่งสารส่งข้อมูลไปยังผู้รับสาร ผลที่เกิดขึ้นคือ
การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ได้
ลักษณะของการสื่อสาร
การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด
การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น
เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง
ความเร็วในการพูด เป็นต้นงการสื่อสาร
รูปแบบของการสื่อสาร
1 การสื่อสารทางเดียว(one
- way communication)การสื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว
2 การสื่อสารสองทาง (Two-way
Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร
วิธีของการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธีคือ
1. การสื่อสารด้วยวาจา(oral
communication)เช่นการพูด การร้องเพลง
2. การสื่อสารที่มิใช่วาจา
(NonverbalCommunication)และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน(written
communication)เช่นภาษามือ ท่าทาง และ ภาษาเขียน
3.การสื่อสารด้วยการจักษุสัมผัสหรือการเห็น(visual
Communication)
ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
การสื่อสารในตนเอง(intrapersonal
or selfcommunication)หมายถืงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน
ได้แก่ การพูดกับตัวเอง การร้องเพลงฟังเอง
เป็นต้น
การสื่อสารระหว่างบุคคล(InterpersonalCommunication)หมายถึง การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป ได้แก่ การพูดคุย การโทรศัพท์
เป็นต้น
การสื่อสารแบบกลุ่มชน(group
communication) ได้แก่ การอภิปลายหน้าชั้นเรียน การหาเสียงเลือกตั้ง
เป็นต้น
การสื่อสารมวลชน(mass
communication) หมายถึง การสื่อสารที่ผ่านสื่อ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
โทรทัศน์
ภาพยนตร์ เป็นต้น
หลักในการสื่อสาร
การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร
ดังนี้
1.ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์
2.ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร
3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง
(frame
of reference)
4.การสื่อสารจะมีประสิทธิผล
เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน
5.ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น
6.คำนึงถึงการใช้ทักษะ
7.คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา
ทิศทางของการติดต่อสื่อสาร
1. การติดต่อสื่อสารเบื้องบนไปสู่เบื้องล่าง เป็นการติดต่อสื่อสารจากระดับสูงลงมาระดับต่ำ
2. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
เป็นการสื่อสารจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชา
3.
การติดต่อสื่อสารในระดับเดียวกัน
เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ร่วมงานในแผนกงานเดียวกันหรือสมาชิกในแผนกเดียวกัน
4.
การติดต่อสื่อสารแบบทแยงมุม
การสื่อสารทแยงมุมนี้
เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่อยู่ต่าง
หน่วยงานหรือข้ามแผนกงานกัน
และอยู่ต่างระดับกันทำการสื่อสารกัน
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach
or education)
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
(please
of entertain)
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose
or persuade)
5. เพื่อเรียนรู้ (learn)
6 เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose
or decide)
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว
2) ความถูกต้องของข้อมูล
3) ความเร็วของการทำงาน
4) ต้นทุนประหยัด
อุปสรรคในการสื่อสาร
สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์
ของผู้สื่อสาร และผู้รับสารดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
2. อุปสรรคที่เกิดจากสาร
3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ
4. อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ
หรือช่องทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น